เกี่ยวกับหลวงพ่อ

เกี่ยวกับหลวงพ่อ

เริ่มต้นชีวิตในวัยเด็ก

สมเด็จพระญาณวชิโรดม เดิมชื่อ วิริยังค์ บุญฑีย์กุล เป็นบุตรของขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับมั่น บุญฑีย์กุล (หรือ อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. 2520) เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2463 ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักปักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีพี่น้อง 7 คน

ก่อนบวช

วันหนึ่งขณะที่ท่านอายุประมาณ 13 ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไปต่อมนต์ (ท่องบทสวดมนต์) กับหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ 2 ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า "ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ" ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลยเบาไปหมด เห็นตัวเองมี 2 ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่งพัดหวิวเข้าสู่ใจ รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่งถึงกับอุทานออกมาเองว่า "คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ" แล้วเดินกลับไปที่ร่างกลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับพระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า "เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก" ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ

วิริยังค์ บุญฑีย์กุล

ต่อมาวันหนึ่งท่านทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยายามหาหมอมารักษาแต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าหมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า "ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หายจากอัมพาตได้ จะอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น" ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวตนหนึ่งมาถามบิดาของท่านว่า "จะรักษาลูกให้เอาไหม" บิดาก็บอกว่า "เอา" ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่าอธิษฐานดังนั้นจริงไหม ท่านก็ตอบว่าจริง จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพรมาเคี้ยว ๆ แล้วก็พ่นใส่ตัวของท่านแล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้นปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะกระดิกตัวได้ ทดลองลุกขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ 7 โมงเช้าปรากฏว่าชีปะขาวมายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาวกลับขอให้ท่านพูดถึงคำอธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้วจึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐานให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอามีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควายมาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถามว่า "ลุงเก่งไหม" ท่านก็ตอบว่า "เก่ง" ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวันเป็นเวลา 10 ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่าไม่พบตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย

บรรพาชา

สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2478 ขณะอายุ 16 ปี บรรพชา ณ วัดสุทธจินดาวรวิหาร ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้ 10 วัน ก็ตามพระอาจารย์กงมาออกธุดงค์ ตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อแสวงหาที่วิเวก เมื่อพบที่สงบก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตรายหรือหนทางอันยาวไกล เช่นในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ 50 กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็นพบโจรกลุ่มหนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์สั่งสอนโจร มีอยู่ตอนหนึ่งเทศน์ว่า "พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึงการผิดศีลของพวกเธอนั้นก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอเลย มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอจะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกันมีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว" ปรากฏว่าพวกโจรวางมีดวางปืนทั้งหมดน้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่างนอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัวเป็นศิษย์และได้บวชเป็นตาผ้าขาวถือศีล 8 เดินธุดงค์ไปด้วยกันจนกระทั่งหมดลมหายใจในขณะทำสมาธิ

อุปสมบท

สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) อุปสมบทเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ขณะอายุ 20 ปี อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 8 ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาพาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ในพรรษา 4 ปี นอกพรรษา 5 ปี รวมเป็น 9 ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะอันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลังท่าน กลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณชน ในหนังสือที่ชื่อว่า "มุตโตทัย"

มรณภาพ

เมื่อวันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สมเด็จพระญาณวชิโรดม ได้เข้ารับการรักษาอาการอาพาธ ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ คณะแพทย์ผู้ดูแลรักษาได้ให้การรักษาอย่างใกล้ชิดร่วมกับการทำกายภาพบำบัด อาการเริ่มดีขึ้นสลับกับคงที่ตามลำดับมา จนกระทั่งวันเสาร์ ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีอาการทรุดลงและได้มรณภาพด้วยอาการสงบด้วยโรคชรา ในวันอังคาร ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07.32 น. สิริอายุได้ 100 ปี 11 เดือน 15 วัน 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานโกศมณฑป เพื่อประกอบเกียรติยศ ในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปยังอาคารบุญญาวาส วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร เขตพระโขนง พระราชทานน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระญาณวชิโรดม วิริยังค์ สิรินฺธโร หลังจากที่ทรงพระราชทานน้ำหลวงสรงศพเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานสุกรรมศพ(มัดตราสังข์)ลงสู่หีบ จากนั้นเชิญไปประดิษฐานหลังโกศพระราชทาน

สมณศักดิ์

พ.ศ. 2563 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ สมเด็จพระญาณวชิโรดม พุทธาคมวิศิษฐ์ จิตตานุภาพพัฒนดิลก สาธกธรรมวิจิตร วิเทศศาสนกิจไพศาล วิปัสสนาญาณธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

golden line

ไทม์ไลน์สำคัญ

สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เกิดเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓

ในครอบครัวของนายสถานีรถไฟปากเพียว (สถานีสระบุรีในปัจจุบัน) ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน ของท่านขุนเพ็ญภาษชนารมณ์ และนางมั่น บุญฑีย์กุล

สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เกิดเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี วันหนึ่ง น.ส.ขลิบ เพื่อนหญิงคนสนิทของ ด.ช.วิริยังค์ ในขณะนั้นได้ชวนกันไปต่อมนต์

ณ วัดป่าสว่างอารมณ์ ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา จึงได้พบกับพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เจ้าอาวาส และระหว่างรอเพื่อนๆอยู่ ด.ช.วิริยังค์ ก็ได้นั่งนิ่งๆและรำพึงในใจว่า “เราจะไม่มาอีกแล้วๆๆๆ” จนจิตสงบนิ่งและเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นปรากฎร่างหนึ่งเดินออกจากร่างเดิม ครั้งนั้นเป็นการทำสมาธิครั้งแรกและเป็นการเปลี่ยนชีวิต ด.ช.วิริยังค์

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี วันหนึ่ง น.ส.ขลิบ เพื่อนหญิงคนสนิทของ ด.ช.วิริยังค์ ในขณะนั้นได้ชวนกันไปต่อมนต์

วันหนึ่ง ด.ช.วิริยังค์ ทำงานหนักเกิน­ตัวจึงได้ล้มป่วยจนเป็นอัม­พาต แพทย์บอกว่าหมดหวังในการรักษา

ด.ช.วิริยังค์ได้แต่นอนอธิษฐานอยู่­ในใจว่า “ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หายได้ จะอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น” ไม่นานนักก็มีชีปะขาวหนวดรุงรังท่าน­หนึ่ง มาถามบิดาว่า “จะรักษาลูกให้เอาไหม­” บิดาตกลง ชีปะขาวก็เดินมาหา ด.ช.วิริยังค์ซึ่งนอนอยู่ และกระซิบถามว่­า “อธิษฐานดังนั้นจริงไ­หม” ด.ช.วิริยังค์ตอบว่า “จริง” ชีปะขาวท่านนั้นบอกให้พูดดังๆ จากนั้นชีปะขาวก็เอาไพรมาเคี้ยวๆ แล้วก็พ่นใส่ตัวของท่­านจนเหลืองไปหมด แล้วก็จากไป จากนั้นไม่กี่วันอาการก็ดีขึ้นจนหายในที่สุด

วันหนึ่ง ด.ช.วิริยังค์ ทำงานหนักเกิน­ตัวจึงได้ล้มป่วยจนเป็นอัม­พาต แพทย์บอกว่าหมดหวังในการรักษา

ในขณะที่บวชเป็นพระหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติสมาธิและมีความปรารถนาได้เรียนสมาธิกับหลวงปู่มั่น

จนในที่สุดก็สมความปรารถนา ณ วัดบ้านโค ต.ตองโขบ อ.เมือง จ.สกลนคร อันเป็นสถานที่มงคลที่ท่าน ได้พบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีโอกาสอยู่ศึกษาพระธรรมวินัย ข้อวัตร และการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน ในขณะเดียวกันก็ได้รับหน้าที่อันสุดประเสริฐ คือ “การเป็นพระอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อยู่เป็นเวลาทั้งสิ้น ๔ ปี” ในช่วงเวลานั้นได้มีการจดบันทึกคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันอยในชื่อหนังสือ “มุตโตทัย”

ในขณะที่บวชเป็นพระหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติสมาธิและมีความปรารถนาได้เรียนสมาธิกับหลวงปู่มั่น

หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ยังได้รับโอกาสครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของท่านเอง นั้นคือ การได้ออกเดินธุดงค์ กับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สองต่อสอง

โดยมีจุดหมายปลายทางที่วัดเลียบ (วัดบูรพาราม) จังหวัดอุบลราชธานี อันจะเป็นสถานที่ถวายพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระมหาเถระผู้เป็นพระอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นั้นเอง

หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ยังได้รับโอกาสครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของท่านเอง

ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๙ – พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงพ่อได้พัก ณ วิทยาลัยสงฆ์น้ำตกแม่กลาง (วัดเทพเจติยาจารย์ ในปัจจุบัน) อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ยังได้รับโอกาสครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของท่านเอง นั้นคือ การได้ออกเดินธุดงค์ กับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สองต่อสอง

ทำให้ได้มีเวลาทบทวนหลักการต่าง ๆ ที่ได้เคยไตร่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ จึงได้เกิดตำราสมาธิขึ้นมา เรียกชื่อว่า “หลักสูตรครูสมาธิ” จำนวน ๓ เล่ม โดยรวมหลักการปฏิบัติอันเป็นทฤษฎี นับตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง ตามลำดับ

ในขณะที่บวชเป็นพระหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติสมาธิและมีความปรารถนาได้เรียนสมาธิกับหลวงปู่มั่น
เกี่ยวกับหลวงพ่อ

ท่านทั้งหลาย เวลาที่เรามีจิตใจ โทโส โมโห ผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรใครอย่างเนี้ย เราก็พยายามอย่าให้อาฆาตจองเวรไว้ในจิตใจ

"ต่างคนก็ต่างให้อภัยเสีย แล้วกรรมมันจะได้ไม่ติดตามเราไป เพื่อที่จะสนองกรรมเวรกัน"